ค้นบทความอื่นๆ

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565

คุยได้คุยดี 13 กันยายน 2565 [สรุปประจำวัน]



ช็อตเด็ด 4

ข้อเสียเงินเฟ้อ / ค่าเงิน / ค่าไฟแพง / คลองตัน


ช่วงแรกสรุปเรื่องคลองและแนะนำเว็บไซต์ "คลองในกทม."

เปิดสาย!!!

(วันนี้คัดมาแค่ 6 หกสายครับ)

[1] คุณป่าสัก เงินเฟ้อทำลายผู้ขายไหม (ขึ้นราคา คนไม่อยากซื้อ)

อ.วีระ "เขาขายแพงเพราะต้นทุนเพิ่มขึ้น ถ้าขายได้ปริมาณเท่าเดิมก็ได้เงินมากขึ้น

เพราะราคามันเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเขาขายได้ลดลง

ก็หมายความว่าปริมาณที่เขาจะขายก็น้อยลง ซึ่งก็คงมีระยะเวลาช่วงนึง

ขึ้นอยู่กับแต่ละสินค้าและบริการด้วย

ถ้าฝั่งผู้บริโภครายได้เพิ่มขึ้น มันก็ไปด้วยกันได้

มันขึ้นอยู่กับเงินเฟ้อระดับไหนด้วย

ทั่วโลกตอนนี้กรอบอัตราเงินเฟ้อราวไม่เกินร้อยละ 2-3"

ถ้าเลยร้อยละ 2 ก็ดูว่าเพราะอะไร ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย ชะลอเศรษฐกิจ

ทำให้ราคาสินค้าและบริหารลดลงมา"



อาจารย์เปรยว่าเห็นใจคนที่ต้องทำมาหากินบนถนน น้ำท่วม รถติด


[2] คุณมอส ค่าเงินดอลลาร์ บาท เยน

อเมริกาเงินเฟ้อเหมือนๆ เรา แต่ขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าเรา

เงินเราเลยอ่อนเทียบกับอเมริกาเหรอครับ

อ.วีระ "ส่วนนึงๆ"

แบบนี้เราขึ้นน้อยกว่าเขาไปเรื่อยๆ เงินบาทเราก็อ่อนไปเรื่อยๆ เหรอ

"ต้องถามว่าวัตถุประสงค์ในการขึ้นดอกเบี้ย เขาต้องการอะไร

อเมริกาขึ้นดอกเบี้ย เพราะต้องการแก้เงินเฟ้อ

ค่าเงินที่แข็งเป็นผลพลอยได้หรือหรือผลพลอยเสีย อันนี้ก็แล้วแต่

เราคำนวณว่าอัตราเงินเฟ้อเราขึ้นเพราะราคาพลังงานและอาหารเพิ่มขึ้น

ฉะนั้นเราขึ้นดอกเบี้ยช้า ผลคือเงินบาทอ่อนกว่าดอลลาร์

การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อไม่ค่อยได้ผล

ถ้าเป็นผลจาก Supply side ผลข้างเคียงคือค่าเงินอ่อน

ส่วนญี่ปุ่นไม่ขึ้นดอกเบี้ย ยอมให้เงินอ่อน"

(และมีรายละเอียดเพิ่มเติม อันนี้ฟังเองจะชัดเจน แม่นยำกว่าครับ)


เงินของญี่ปุ่นอยู่นอกประเทศมากกว่าในประเทศ

ไทย GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ)

ใหญ่กว่า GNP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ)

แต่ญี่ปุ่น GNP ใหญ่กว่า GDP



ญี่ปุ่นเป็นประเทศให้กู้สุทธิและลงทุนไปทั่วโลก

แต่เงินลงทุนของเขาในต่างประเทศถูกนับรวมเป็น GDP ในประเทศนั้น

GDP ไทยมีของคนอื่นด้วย ไม่ใช่แค่ของไทยอย่างเดียว

ถ้าตัดตรงนี้ออกไป หักด้วยส่วนที่เอาไปลงทุนต่างประเทศ

ผมว่า GNP บ้านเราเล็กกว่า GDP

อย่าไปมองเหตุเดียวผลเดียว เหตุนึงอาจทำให้เกิดหลายผล

(สายนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของคนถามดี อาจารย์สนุกตอบ ได้ประโยชน์!)


[3] คุณพัน อยู่บางบัวทอง เล่าสถานการณ์น้ำ

"บางบัวทองต้องดูแม่น้ำท่าจีน บางยี่หน ใกล้ๆ สุพรรณน้ำมันมายังไง 

รับน้ำสองทาง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน

ถ้าน้ำตรงนั้นเยอะ บวกน้ำฝนก็ท่วม แต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไร"


[4] คุณนรินทร์ ไฟฟ้าที่จะขึ้นปลายเดือนนี้ แพงเพราะสำรองไฟฟ้าเยอะไปใช่ไหม

"ไฟฟ้าสำรอง บางอันมันไม่พร้อมใช้นะ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังลม

ถ้าไม่มีแดดก็ไม่มีไฟฟ้า ฉะนั้นไอ้ที่มันเกินไปมันไม่ได้ใช้ นี่อันนึง ตัดออก

เขาสร้างโรงไฟฟ้า เราไม่ได้ให้เงินเขาสร้าง เขาลงทุน ทำสัญญาระยะยาว

ว่ารับซื้อไฟกันยังไง และคำนวณผลตอบแทน เขาก็ไปลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า

และพร้อมจ่ายไฟให้ เมื่อกฟผ. บอกให้เดินโรงไฟฟ้า เขาก็ต้องเดินให้

แต่ระหว่างที่ไม่มีการเดินก็ต้องจ่ายเงิน เพราะเขาลงทุนไปแล้ว ระบบเป็นแบบนี้

ไม่งั้นคุณจะกล้าลงทุนเหรอ ถ้าขายไม่ได้

ค่าเอฟทีขึ้นมา เป็นปกติของการใช้ไฟ เพราะรัฐบาลไม่ได้ลงทุน (ให้เขา)

กรณีสำรองเกิน คุณต้องไปดูว่าสำรองในรูปของไฟฟ้ามาจากแหล่งไหนบ้าง

ไฟฟ้าที่จะใช้ได้ 100 ส่วน โรงไฟฟ้าใช้แก๊สกี่เปอร์เซ็นต์ ถ่านหิน โซลาร์เซลล์

พลังลม และที่ซื้อจากลาวกี่เปอร์เซ็นต์

คุณต้องรู้รายละเอียดถึงจะเข้าใจ

จุดตั้งต้นคือคุณอยากใช้ไฟฟ้าถูก พอมีคนบอกว่าไฟฟ้าแพงเพราะแบบนี้ 

คุณก็เชื่อทันที โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร"


และเสริมว่า "ต้องแยกระหว่างสำรองที่ใช้ได้ทันที สำรองที่ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง

อย่างไม่มีแดด ไม่มีลม มันก็ไม่มีไฟใช้"


คุณณัฐพงษ์ "เพราะโควิด โรงงานไม่ใช้ไฟฟ้า

คนเลยมาเพ่งเล็งว่าไฟฟ้าสำรองเยอะไปรึเปล่า"


อ.วีระ "ตอนนี้ต้องดูตัวเลขว่าเราใช้ไฟสูงสุดกี่เมกะวัตต์

และไฟฟ้าสำรองกี่เมกะวัตต์ นี่ประเด็นที่หนึ่ง

ประเด็นที่สองคือไฟฟ้าสำรองที่บอกเยอะเกิน ดูไส้ในว่าเป็นยังไง

แต่แน่นอน ไฟฟ้าสำรองที่มีเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน ซึ่งคนละราคา

ที่แน่ๆ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขาไม่ขายขาดทุนแน่ ไม่งั้นก็เจ๊งสิ (หัวเราะ)"


[5] คุณวรวุฒิ แถวทางไปลพบุรีกังหันลมเยอะจัง

"แถวนั้นคงลมแรง กังหันลมต้นละ 1 ล้านยูโร (40 ล้านบาท)"

(ผมเช็ก Google เมื่อกี้ 36.87 บาท แต่สมัยนั้นอาจ 40 หรืออาจารย์กะคร่าวๆ)


ลำตะคอง


[6] คุณแดง คลองตันเป็นคลองพระโขนงขุดต่อไปคลองแสนแสบ

เขาตั้งชื่อว่ากลันตัน เรียกสั้นๆ ว่าคลองตัน

อ.วีระ "คือเขาไปเกณฑ์แขกมาขุด"

คุณแดง - ใช่ๆๆ อาจารย์รู้นี่ แต่อาจารย์ไม่บอก

"เรื่องบางเรื่องนะ มันไม่ต้องพูดก็ได้ (หัวเราะ) คลองมันตันก็พูดไปงั้นแหละ

เขาให้ชุมชนแขกที่มาตั้งตรงนั้นมาขุด ผมจำไม่ได้ว่าสมัยรัชกาลไหน

คุณณัฐพงษ์เสริมว่า "รัชกาลที่สาม"


ท่าเรือคลองตัน

"เรื่องบางเรื่องอย่าไปรู้เลย รู้ไปก็เท่านั้น รู้อะไรกันมากมาย (หัวเราะ)

มันไม่ยากหรอก ข้อมูลพวกนี้ ถ้าสนใจจริงๆ

แต่มันต้องสะสมเชิงปริมาณ และมองความเชื่อมโยงออก

แล้วก็เห็นภาพใหญ่ (บิ๊กพิกเจอร์) และเอาภาพใหญ่นั้นมาใช้งาน


อย่างเรื่องน้ำตอนนี้มันต้องดูระบบคลอง

ต้องแยะแยะให้ถูกว่าคลองใหญ่ คลองเล็ก เหนือใต้

ตะวันออก ตะวันตก คลองไหนออกหรือไม่ออกแม่น้ำเจ้าพระยา

เราอยู่ตรงไหนของคลองนั้น จะได้รับผลกระทบยังไง

หรือแม้แต่ระดับ Contour (ระดับสูงต่ำ) ของถนนในหมู่บ้านเรา

สูงกว่าระดับน้ำทะเลเท่าไหร่เทียบกับที่อื่น มันก็มีผล

เพราะน้ำย่อมไหลลงที่ต่ำกว่า


คุณณัฐพงษ์เสริม "ถูกต้อง ถ้าอยู่สูงหน่อยก็รอด"



รายละเอียดรายการ

คุยได้คุยดี ฟังสดได้ที่คลื่น 96.5 FM. ผ่านแอปฯ เว็บ เพจเฟซบุ๊ก FM 96.5

ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 14:00 - 16:00 น. (มาจริงราว 14:08 น.) โทร 022481657

และมีรีรันตอนตี 2 ถึง ตี 4


คลิก > ลิงก์ฟังคุยได้คุยดี 13 ก.ย. 65 


"ทั้งหมดเป็นแค่การสรุปจากผม เอาไปอ้างอิงใดๆ ไม่ได้

ข้อมูลครบถ้วนต้องฟังทั้งรายการครับ"


"ทุกความคิดมีที่มา ทุกการกระทำมีเจตนา"

13 ก.ย. 65 - ลูกมด

...................................

👄🧵👄👍

บทความอื่นๆ [คลิกได้เลย]

👇





















ไม่มีความคิดเห็น: