ค้นบทความอื่นๆ

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

หนังสือและการอ่าน - อ.วีระ ธีรภัทร : ตอน 2


 

หลังจากอาจารย์เขียนไป 2 บท (จาก 15 บท)

ก็มีหลายคนเขียนมาเล่าประสบการณ์การอ่านให้ฟัง

(ผ่านไลน์แอด @veera2017)


หนึ่งในนั้นคือหนังสือชุดพล นิกร กิมหงวน

อาจารย์เล่าว่าเคยอ่านอย่างเพลิดเพลินมาก

โดยเล่าถึงตัวละครชื่อ "เชย"

ที่เดินทางมากรุงเทพฯ ทางรถไฟ

เอาของใส่ชะลอมมาฝากน้องชาย แต่งตัวไม่ทันสมัย

กลายเป็นว่าคนที่ชอบทำอะไรไม่ทันสมัย

ถูกเรียกว่าทำตัว "เชย"

เป็นมรดกทางภาษาที่มีอิทธิพลและใช้กันแม้ในปัจจุบัน

นังสือชุดพล นิกร กิมหงวน

เป็นผลงานของ ป. อินทรปาลิต

ป. อินทรปาลิต / พ.ศ. 2453 - 2511 (58 ปี)


อาจารย์อ่านหนังสือกำลังภายใน

ก็ช่วงเดียวกับที่อ่านชุดพล นิกร กิมหงวนนี่แหละ

โดยบอกว่าสองคนที่ใครๆ ต้องอ่านงานเขาคือ

กิมย้งและโกวเล้ง

กิมย้ง / พ.ศ. 2467 - 2561 (94 ปี)


โกวเล้ง / พ.ศ. 2480 - 2528 (48 ปี)


กิมย้งก็ต้องมังกรหยก

และต้องรู้จักนักแปลรุ่นแรกๆ

"จำลอง พิศนาคะ"

จำลอง พิศนาคะ / พ.ศ. 2466 - 2525 (59 ปี)


ส่วนหนังสือกำลังภายในของโกวเล้ง

ก็ต้องรู้จักนักแปลสองคนนี้

ว. ณ เมืองลุง (คนตะพานหินและแม่อาจารย์รู้จักดี)

ว. ณ เมืองลุง พ.ศ. 2470 - 2547 (77 ปี)

และ น. นพรัตน์

น. นพรัตน์ (ภาพนี้คือคุณอำนวย)
นามปากนี้เกิดจากคนสองคน
อานนท์ ภิรมย์อนุกูล (พี่ชาย เสียชีวิต 2543)
อำนวย ภิรมย์อนุกูล (ยังมีชีวิตอยู่)

อาจารย์อ่านงานแปลวรรณกรรมจีน

ของสามคนนี้เป็นหลัก


สิ่งหนึ่งที่ได้จากนิยายกำลังภายในเหล่านี้

คืออาจารย์กลายเป็นคนอ่านเร็วและอ่านทนครับ

เพราะมันชวนให้ติดตามและเนื้อหาเยอะ

โดยย้ำว่า "อ่านเร็วนะ ไม่ใช่อ่านผ่านๆ หรืออ่านข้ามๆ"


และเสริมว่าหนังสือแนวนี้ของไทยก็มี

อย่างน้อยก็ "เพชรพระอุมา" ของพนมเทียน




พนมเทียน / 2474 - 2563 (88 ปี)


สำหรับบทที่ 4 อาจารย์เล่าว่า

งานของคนเขียนหนังสืออย่างน้อย 5 คน

ที่ช่วยเปิดโลกของอาจารย์ให้กว้างไปจนเห็น

"ขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้"

1. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
2405 - 2486 (81 ปี)


2. พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)
2431 - 2512 (80 ปี)


3. หลวงวิจิตรวาทการ
2441 - 2505 (63 ปี)


4. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
2454 - 2538 (84 ปี)


5. สุลักษณ์ ศิวลักษณ์
( เกิด 2476 ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ / 89 ปี)


อาจารย์บอกว่า

"ใครที่คิดว่าตัวเองรู้และเข้าใจสังคมไทย

โดยไม่เคยอ่านงานชิ้นเยี่ยมๆ ประเภทไม่อ่านไม่ได้

ของ 5 ท่านนี้เลย อย่ามาคุยครับ"


งานเขียนและงานแปลเรียบเรียงของ 5 ท่านนี้

อาจารย์อ่านเกินครึ่ง

ดีไม่ดีอาจจะ 80 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ

น่าจะ 200 - 300 เล่มเป็นอย่างน้อย


ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจารย์อ่านต่อเนื่องยาวนานครับ

ไม่ได้ตะบี้ตะบันอ่านแบบผ่านๆ ไป


สุดท้ายอาจารย์แนะนำว่า

ลองค้นประวัติและงานเขียนของทั้ง 5 ท่านกันเอาเอง

เริ่มอ่านงานเขียนของแต่ละท่านสักเล่มสองเล่มดูก่อน


ถ้าไม่ถูกจริตก็เลิกไป ไม่ต้องฝืน

เพราะแต่ละท่านมีสไตล์และเป้าหมาย

รวมทั้งความสนใจเรื่องที่จะเขียนและเรียบเรียง

ต่างกันออกไป

และอาจารย์บอกส่งท้ายว่า

"โลกแห่งการอ่านหนังสือกว้างใหญ่ไพศาลมากครับ"


.............

จบแล้วครับ บท 3 และ 4

ของหนังสือ "ว่าด้วยหนังสือและการอ่าน"


โดยสองบทนี้อาจารย์วีระพูดถึงหนังสือ 3 เล่ม

และพูดถึงนักเขียน นักแปล 12 ท่าน

(เสียชีวิตแล้ว 10 ท่าน ยังมีชีวิตอยู่ 2 ท่าน)

ดังกล่าวแล้วข้างต้น


ทุกความคิดมีที่มา ทุกเจตนาแฝงในการกระทำ

ลูกมด - 13 พ.ย. 65

...................................

👄🧵👄👍

บทความอื่นๆ [คลิกได้เลย]

👇






















ไม่มีความคิดเห็น: