ค้นบทความอื่นๆ

วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2566

ชีวิตนักแปลซับไตเติล 1 : สู่อาชีพนักแปล

 




ผมเริ่มอาชีพนักแปลเป็นงานเสริมช่วงปี 2556

ถึงตอนนี้ก็ราว 10 ปีได้

แรกเริ่มนั้น บริษัทที่ผมแปลให้ เขาให้แปลใส่เวิร์ด

หรือ Microsoft Office Word นั่นแหละ


มันยากลำบากนะ แต่ก็สนุก ได้ทำงานตรงสาย

(มนุษย์ Eng ราม) และได้เงินเพิ่มจากเงินเดือน


สิ่งที่ต้องใช้คือไฟล์มีเดียไว้ดู

และสคริปต์อังกฤษในเวิร์ด

ทีนี้หลังเลิกงานก็แค่นั่งดูไฟล์มีเดีย

(ไฟล์มีเดียอาจเป็นหนัง ซีรีส์ รายการต่างๆ)

และพิมพ์คำแปลใส่แทนภาษาอังกฤษในเวิร์ด


เสร็จแล้วเอาไฟล์เวิร์ดที่แปลเป็นไทยแล้วนั้น

ไปแปลงใส่โปรแกรมเฉพาะของบริษัท

แล้วให้คิวซีตรวจทาน ก่อนจะส่งให้ลูกค้า

ลูกค้าก็เอาไปฉายต่อไป


ซึ่งลูกค้าก็หลากหลายเจ้า แต่ละเจ้าก็มีกฎ

หรือ Style guide แตกต่างกันไป

บางเจ้าก็จุกจิก เช่น ห้ามใช้คำหยาบ

ไม้ยมกต้องชิดหน้า วรรคหลังหรือวรรคหลัง วรรคหน้า

ต้องใช้คำตามราชบัณฑิต

อย่าง "แคร์รอต อะพาร์ตเมนต์ พอป"

ทับศัพท์ห้ามใส่วรรณยุกต์ เป็นต้น


นี่คือ Style Guide ของ Netflix [คลิก]


เรื่องกฎราชบัณฑิต ถ้าจะให้คุย มันยาวใหญ่มาก

ไว้ว่ากันในตอนต่อๆ ไป


เรื่องค่าตอบแทนนั้น

แบ่งเป็นเรตดังนี้

งานครึ่งชั่วโมง อย่างซีรีส์ Friends, Brooklyn Nine-Nine

ได้ตอนละ 800 บาท


ถ้าซีรีส์ 1 ชั่วโมง อย่าง Prison Break, Game of Thrones

ได้ตอนละ 1,600 บาท


ถ้าหนังยาวก็ได้เพิ่มขึ้นไปอีกตามเวลาของไฟล์งาน

ไม่ใช่ได้ตามจำนวนไลน์ หรือตัวอักษร

ถ้าเรื่องไหนพูดเร็วและยากก็ใช้เวลาแปลนาน

อย่าง Grey's Anatomy (แพทย์ / ศัพท์เฉพาะเยอะ)

ซีรีส์ S.W.A.T. (พูดเร็วและศัพท์เฉพาะเยอะ)

ซีรีส์ Suits (ศัพท์กฎหมายเยอะ)


อันนี้ต้องเสี่ยงดวงกันไป


หลังจากแปลไปสักพักก็มีการเปลี่ยนแปลง

ทั้งในแง่กระบวนการทำงานและค่าตอบแทน

ไว้มาเล่าให้ฟังในตอนที่ 2 ครับ


บริบทคือหัวใจการแปล: นักแปลพุงเต่ง




ไม่มีความคิดเห็น: